This post is also available in:
อังกฤษ
อินโดนีเซีย
พม่า
Khmer
![](https://engagemedia.org/wp-content/uploads/2023/02/image4-2-1.jpg)
ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของอินโดนีเซียขบคิดถึงความท้าทายและโอกาสในการเสริมสร้างขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิดิจิทัลในประเทศภายในงานรวมพลังที่จัดขึ้น ณ กรุงจาการ์ตา ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566 วันที่ 3 ของงาน Asia-Pacific Digital Rights Forum
งานนี้ซึ่งจัดโดย EngageMedia ร่วมกับ Southeast Asia Freedom of Expression Network (เครือข่ายเสรีภาพในการแสดงออกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) (SAFEnet) และ Indonesia Jentera School of Law (สำนักวิชานิติศาสตร์อินโดนีเซียเจนเตรา) เป็นหนึ่งในห้างานออนไซต์ที่จัดขึ้นทั่วภูมิภาค โดยมีงานอื่น ๆ ที่จัดขึ้นพร้อมกัน ณ กรุงธากา กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ และมะนิลา
ถอยมาหนึ่งก้าวและขบคิดถึงการเคลื่อนไหวด้านสิทธิในอินโดนีเซีย
ในงาน ผู้เข้าร่วมงานถอยมาหนึ่งก้าวจากการพูดคุยกันเป็นประจำเกี่ยวกับภัยคุกคามจากภายนอกต่อสิทธิดิจิทัล และขบคิดถึงความท้าทายเหล่านี้ที่พบเจอในขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิดิจิทัล จากผลการวิจัยก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการวิจัย Digital Rights Landscape (ภูมิทัศน์ของสิทธิดิจิทัล) ของ EngageMedia การอภิปรายแบ่งออกเป็นห้าประเด็นแยกกันทว่าเกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ การปลูกฝังสภาพแวดล้อมในที่ทำงานแบบครอบคลุมทุกกลุ่มคน การพัฒนาเครือข่ายระดับเอเชียแปซิฟิกและระดับรากหญ้าที่เข้มแข็งขึ้น การคงไว้ซึ่งการจัดการความรู้ภายในองค์กรและระหว่างองค์กร การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลขององค์กร รวมทั้งการรักษาผู้ให้ทุนและเงินอุดหนุนให้อยู่ต่อไป
ในระหว่างการอภิปราย ผู้เข้าร่วมงานได้กล่าวถึงข้อกังวลหลัก ๆ บางประการในงานผลักดันเชิงนโยบายของตน อาทิ การสำรวจกลยุทธที่ดีกว่าเดิม เช่น การใช้เรื่องเล่า (stories) ในการรณรงค์เพื่อทำให้ประเด็นด้านสิทธิมีลักษณะความเป็นมนุษย์ต่อผู้รับสาร และสร้างสภาพแวดล้อมที่ผู้คนมีความเข้าใจและเชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาด้านอื่น ๆ
เงินสนับสนุนยังคงเป็นข้อกังวลหลักประการหนึ่ง ผู้เข้าร่วมอภิปรายให้ข้อสังเกตว่ารูปแบบและกลไกการให้เงินสนับสนุนในปัจจุบันมีส่วนทำให้เกิดภาวะหมดไฟได้อย่างไรบ้าง ผู้เข้าร่วมเรียกร้องให้มีการปรับปรุงกลไกและนโยบายเหล่านี้เพื่อสนับสนุนนักเคลื่อนไหวให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอภิปรายยังสังเกตเห็นถึงการขาดการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างเป็นระบบระหว่างองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งทำให้เกิดการทำงานที่ทับซ้อนและซ้ำซ้อน แม้ว่าองค์กรภาคประชาสังคมส่วนใหญ่พอจะเข้าใจคร่าว ๆ ว่าองค์กรอื่นทำอะไรบ้าง ทว่าตนก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในงานของอีกฝ่ายอย่างแท้จริง
ต้องมองย้อนดูตนเองและใช้วิจารณญาณไตร่ตรองถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงในขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิดิจิทัลเพื่อจะได้ทำงานร่วมกันให้ดียิ่งขึ้น ผู้เข้าร่วมอภิปรายสังเกตเห็นว่าประเด็นด้านสิทธิดิจิทัลมีความซับซ้อนมากขึ้นในลักษณะใดบ้าง ซึ่งจำเป็นต้องดูความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ทว่ามีความสำคัญ ซึ่งพิจารณาถึงลักษณะของประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ที่มีหลายแง่หลายมุมและเกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชา
ไฮไลท์สำคัญของงานคือการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างเสริมขีดความสามารถขององค์กรภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วมผลักดันเชิงนโยบายด้านสิทธิดิจิทัล ผู้เข้าร่วมเน้นว่าจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ดีขึ้นและการอบรมสร้างความรู้เพื่อผลักดันเชิงนโยบายให้มีประสิทธิผลมากขึ้น นอกจากนี้ องค์กรภาคประชาสังคมควรแบ่งปันความรู้ภายในองค์กรของตนและกับองค์กรอื่น ๆ ที่ทำงานในด้านต่าง ๆ เพื่อจะได้ทำงานร่วมกันเพื่อหาทางออกที่ต้องอาศัยมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย
EngageMedia ขอเชิญผู้นำการเปลี่ยนแปลงอภิปรายกันต่อที่ Forum.EngageMedia.org/Discuss.