This post is also available in: English
ผู้จัดการโครงการสิทธิดิจิทัล ญาวีร์ บุตรกระวี จาก EngageMedia (ขวาสุด) แสดงความคิดเห็นระหว่างรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ Tech Tales ในประเทศไทย
การสอดแนมสอดส่องโดยรัฐ การละเมิดความเป็นส่วนตัว และการ ญาวีร์ บุตรกระวี ผู้จัดการโครงการสิทธิดิจิทัลในภูมิภาคแม่โขง บิดเบือนข้อมูลข่าวสารเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญด้านสิทธิ์ดิจิทัลที่ได้รับการเน้นย้ำระหว่างการฉายรอบปฐมทัศน์ของ Tech Tales: Films about Digital Rights in the Asia-Pacific ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา
นักกิจกรรม ตัวแทนจากภาคประชาสังคม และประชาชนผู้สนใจทั่วไปกว่า 30 รายเข้าร่วมการเปิดตัวภาพยนตร์ที่นำเสนอโดย EngageMedia ร่วมกับ Cofact, Doc Club & Pub และ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม รอบปฐมทัศน์ของ Tech Tales ในประเทศไทย ได้รับการจัดขึ้นล่วงหน้าวันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากลในวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะเจาะในการจับตาดูปัญหาการบิดเบือนและการปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร และประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิ์ดิจิทัลในประเทศไทยและในเอเชียแปซิฟิก การอภิปรายหลังจากการฉายภาพยนตร์ได้กล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ โดยเน้นถึงประสบการณ์ที่คล้ายกันและภัยคุกคามต่อสิทธิดิจิทัลในประเทศต่างๆ ในภูมิภาค
ในการกล่าวเปิดงานกล่าวว่าคอลเลคชั่นภาพยนตร์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นด้านสิทธิดิจิทัล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนในประเทศไทยกำลังประสบพบเจอ ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้มีการสนทนาเกี่ยวกับบทบาทของการรณรงค์ในประเด็นดังกล่าว
เรื่องราวของ Tech Tales สะท้อนถึงปัญหาด้านสิทธิ์ดิจิทัลที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย ได้แก่ การสอดแนมสอดส่องโดยรัฐ เสรีภาพในการแสดงออก และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนปัญหาข่าวปลอมและการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร” ญาวีร์ กล่าว “Tech Tales เปิดโอกาสให้เราสำรวจตัวเองว่าเราพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน”
ผลิตโดย EngageMedia ภาพยนตร์ Tech Tales ทั้งแปดเรื่องให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล นับตั้งแต่ Tech Tales เริ่มฉายในปี 2564 Tech Tale ได้รับการนำเสนอในระดับท้องถิ่น ในประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เมียนมาร์ และมองโกเลีย
การเสวนาประเด็นด้านลิขสิทธิ์ดิจิทัลในประเทศไทยภายหลังการฉายภาพยนตร์ Tech Tales เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ผู้ร่วมอภิปราย (จากซ้ายไปขวา) ได้แก่ สุธิดา บัวคอม ผู้ชนะการแข่งขัน FACTkathon เพื่อต่อต้านการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร สฤณี อาชวานันทกุล จาก Thai Netizen Network สันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Cofact; นูร ฮาซีกึน ยูโซะ เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และ ผู้ดำเนินรายการเสวนา ฐิตาภา สิริพิพัฒน์
สถานการณ์สิทธิดิจิทัลในประเทศไทย
หลังจากการฉายภาพยนตร์ เวทีเสวนา “สิทธิ์ดิจิทัล: สิทธิ์ของใคร? ทำไมถึงสำคัญ?” ได้รับการจัดขึ้นเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิดิจิทัลในประเทศไทย และระบุความท้าทายในการรณรงค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง เวทีเสวนาประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากในด้านสิทธิ์ดิจิทัล ได้แก่ สุธิดา บัวคอม ผู้ชนะการแข่งขัน FACTkathon เพื่อต่อต้านการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร สฤณี อาชวานันทกุล จาก Thai Netizen Network สันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Cofact; และ นูร ฮาซีกึน ยูโซะ เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม วิจิตรา ดวงดี ผู้กำกับภาพยนตร์ Pattani Calling ก็เข้าร่วมงานด้วยเช่นเดียวกัน
การเสวนาทำให้เห็นถึงประเด็นหลักสองประเด็นที่สำคัญ: การใช้กฎหมายที่มีอยู่เพื่อควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการปราศจากความรับผิดชอบและการตรวจสอบต่อหน่วยงานที่ละเมิดสิทธิ
ในประเด็นแรก ผู้ร่วมอภิปรายได้เน้นย้ำถึงการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อดำเนินคดีกับผู้เห็นต่าง หรือผู้แสดงความคิดเห็นการเมืองบนโลกออนไลน์ ถึงแม้ว่า พรบ. คอมฯ เดิมมีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมออนไลน์ เช่น การหลอกลวงทางการเงิน หรือ การหลอกลวงเพื่อให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล บทบัญญัติบางส่วน “ถูกตีความแบบกว้างๆ เพื่อดำเนินคดีทางอาญาต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก” สฤณีกล่าว แม้จะได้รับการแก้ไขในปี 2560 แต่ พรบ. คอมฯ ยังคงรักษาบทบัญญัติที่มีปัญหาหลายประการซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปราบปรามผู้ใช้อินเทอร์เน็ต การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบนโลกออนไลน์ถูกตีคลุมว่าเป็น “ข่าวปลอม” หรือ “ข้อมูลบิดเบือน” ที่ส่งผลต่อความมั่นคงของชาติหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
สิ่งที่ทำให้ปัญหาข่าวปลอมในไทยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นคือ “การขาดความน่าเชื่อถือของประชาชนต่อสถาบันสาธารณะ” เช่น สื่อ หน่วยงานภาครัฐ หรือแม้กระทั่งตุลาการ บัวคมกล่าว สฤนีเห็นด้วยและเสริมว่าดูเหมือนว่าจะมีความรู้สึกทั่วไปที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยไว้วางใจในรัฐบาล และการตอบสนองต่อความปลอดภัยทางดิจิทัลและการละเมิดสิทธิ์ดิจิทัล ในหลายๆ ครั้ง การรายงานข่าวหรือการตรวจสอบโดยสื่อในเรื่องการรั่วไหลของข้อมูลมักพบกับขัดขวางหรือตอบสนองช้าจากภาครัฐ
ในขณะเดียวกัน มีน้อยกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ละเมิดสิทธิหรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ตัวอย่างหนึ่งที่ได้รับการพูดถึงคือการรวบรวมข้อมูลไบโอเมตริกซ์สำหรับการลงทะเบียนซิมการ์ดใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย — ประเด็นหลักของภาพยนตร์ Tech Tales เรื่อง Pattani Calling ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของชาวมาเลย์มุสลิมที่ประท้วงต่อต้านการสอดแนมและสอดส่องโดยรัฐ โดยการปฏิเสธที่จะใช้บริการมือถือ ทำให้พวกเขาขาดการติดต่อจากการสื่อสารสมัยใหม่
Pattani Calling ไม่เพียงแต่ดึงความสนใจไปที่ชะตากรรมของชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของการละเมิดสิทธิใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย “3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสถานะความเป็นข้อยกเว้น พูดอีกนัยยะหนึ่งคือ เป็นพื้นที่ที่การละเมิดสิทธิ์ถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ” ยูโซะกล่าว เธอเสริมว่าถึงแม้ว่านโยบายการรวบรวมข้อมูลไบโอเมตริกซ์จะยุติลง แต่ก็ไม่มีความชัดเจนจากภาครัฐว่าข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไปถูกนำไปใช้ในด้านใดบ้าง มีการจัดเก็บรักษาอย่างไร ตลอดจนมีมาตรการอะไรบ้างในการป้องกันข้อมูลรั่วไหล
หนทางข้างหน้าสำหรับการณรงค์สร้างความเปลี่ยนแปลง
ถึงแม้ผลกระทบด้านลบของโซเชียลมีเดียจะเป็นที่ประจักษ์ เช่นปัญหาข่าวปลอม ผู้ร่วมอภิปรายเห็นพ้องว่า สิทธิในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและข้อมูลข่าวสารจะต้องได้รับปกป้องต่อไป
เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดียควรตระหนักถึงวิธีการเผยแพร่และรูปแบบต่างๆ ของข่าวปลอม และดำเนินการตรวจสอบให้แน่ใจถึงที่มาที่ไปของเนื้อหาที่พวกเขาพบเห็นบนโลกออนไลน์ นักข่าวเองก็ควรมีบทบาทมากขึ้นในการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ความพยายามเหล่านี้ต้องเสริมด้วยการดำเนินการในระดับทางการยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลสามารถจัดหาทรัพยากรสำหรับโครงการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหล่านี้ กลางณรงค์กล่าว
ด้วยเหตุนี้ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกันระหว่างนักปกป้องสิทธิ์ดิจิทัลในภูมิภาค เพื่อสำรวจวิธีที่สร้างสรรค์ในการป้องกันการละเมิดสิทธิ์ดิจิทัล
สำหรับผู้ที่สนใจจะเป็นเจ้าภาพร่วมในการฉายภาพยนตร์ Tech Tales หรือนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์ หรือกิจกรรมต่างๆ ติดต่อเราได้ที่:Tech Tales Partners Page