This post is also available in: อังกฤษ อินโดนีเซีย พม่า Khmer
หลังจากการหารือในวันแรกแล้ว งานประชุม Asia-Pacific Digital Rights Forum ในวันที่ 2 เน้นเรื่องการรวมพลังในระดับภูมิภาคโดยใช้ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนและการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ
ปาฐกถาพิเศษ: การรวมพลังในระดับภูมิภาคและความร่วมมือด้านสิทธิดิจิทัล
ปาฐกถาพิเศษเน้นเรื่องประโยชน์ของการติดต่อกันของบรรดาผู้สนับสนุนสิทธิดิจิทัล คนจำนวนกว่า 60 คนเข้าร่วมงานนี้ซึ่งมีบริการล่ามแปลภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย พม่า เขมร และไทย
Phet Sayo ผู้อำนวยการบริหารของ EngageMedia กล่าวว่า การรวมพลังและการทำงานร่วมกันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรด้านสิทธิดิจิทัลเพื่อทำความเข้าใจบริบทที่ตนกำลังดำเนินการอยู่ โดยเน้นว่าฝ่ายต่าง ๆ ต้องทำความเข้าใจร่วมกัน ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้คือการจัดการกับการทำงานแบบสหวิทยาการ Sayo กล่าวเพิ่มเติมว่าการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัลนั้นประกอบด้วยหลายแง่มุมและต้องใช้ความพยายามร่วมกัน
Khin Ohmar ผู้ก่อตั้ง Progressive Voice of Myanmar เล่าเรื่องประชาชนชาวเมียนมาที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่องในการต่อต้านความพยายามของรัฐบาลทหารที่จะจำกัดสิทธิของพวกตน ทว่างานนี้ไม่สามารถทำได้โดยลำพัง อีกทั้ง Ohmar ยังเน้นว่าจำเป็นต้องขอให้ประชาคมระหว่างประเทศสนับสนุนการต่อสู้ของประชาชนโดยกระจายข่าวล่าสุดที่ได้รับจากเมียนมา
Brittany Piovesan หัวหน้าโครงการ Greater Internet Freedom ของ Internews กล่าวว่า ทั่วทวีปเอเชียแปซิฟิก รัฐบาลเผด็จการควบคุมช่องทางดิจิทัลได้สำเร็จ ทว่าการดำเนินการร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้คนมีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น Piovesan ยังเล่าถึงการให้พื้นที่แก่ผู้สนับสนุนด้านสิทธิได้เล่าเรื่องงานของตนนั้นช่วยสร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยวางรากฐานสำหรับการร่วมงานกันต่อไป
การประชุมกลุ่มย่อยที่สำคัญ
หัวข้อเรื่องเสรีภาพของสื่อออนไลน์พิจารณาถึงผลกระทบของโควิด-19 ผู้สื่อข่าวต้องหักล้างข้อมูลที่บิดเบือนในขณะที่ตนแทบเข้าไม่ถึงข้อมูลที่เชื่อถือได้ นอกจากนี้ ยังมีการนำกฎหมายมาใช้ลดความเสี่ยง ในการคุ้มครองเสรีภาพของสื่อ วิทยากรเน้นว่าจำเป็นต้องติดต่อประชาชนให้มีส่วนร่วมมากขึ้น
วิทยากรในหัวข้อ “การท้าทายบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่” เน้นความสำคัญของการส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการหารือเพื่อเรียกร้องให้แพลตฟอร์มแสดงความรับผิดชอบและสนับสนุนแพลตฟอร์มทางเลือกที่เคารพสิทธิของประชาชน วิทยากรยังเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนช่วยส่งเสริมแพลตฟอร์มดังกล่าว เนื่องจากการดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้านเทคโนโลยีอาจมีค่าใช้จ่ายสูง
หัวข้อเรื่องการมีส่วนร่วมของเยาวชนเน้นความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อและการพัฒนาความสามารถของเยาวชนให้รู้จักคิดเชิงวิพากษ์ วิทยากรย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนเพื่อกระตุ้นให้คนเหล่านี้มีส่วนร่วมในประเด็นสิทธิดิจิทัล
ในหัวข้อแรงงานดิจิทัล วิทยากรกล่าวถึงข้อดีและข้อด้อยของงานอิสระ แม้ว่าลักษณะงานจะมีความยืดหยุ่น แต่แรงงานไม่ได้รับความคุ้มครอง วิทยากรยังเน้นว่าคนเหล่านี้ต้องรวมพลังกันและจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้ในหมู่ผู้บริโภค
หัวข้อความปลอดภัยทางดิจิทัลนำเสนอภาพรวมของภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค รวมทั้งนักเคลื่อนไหวจำเป็นต้องสนับสนุนและช่วยเหลือกัน วิทยากรยังกล่าวด้วยว่าต้องเข้าใจวิธีที่ผู้นำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อจะได้รับมือได้อย่างเหมาะสม
การสนทนากลุ่มเรื่องเทคโนโลยีแบบเปิดที่ปลอดภัย (Open and Secure Technology) นำโดย Asia Centre มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาถึงสาเหตุที่ผู้คนยังไม่ค่อยยอมรับและใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ผู้เข้าร่วมเล่าว่าการรู้เท่าทันทางดิจิทัลมีบทบาทในเรื่องนี้ และเริ่มหารือกันเรื่องการใช้เครื่องมือดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี