This post is also available in: อังกฤษ อินโดนีเซีย พม่า Khmer
ผู้สนับสนุนสิทธิดิจิทัล ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน และองค์กรภาคประชาสังคม (CSO) จากทั่วเอเชียแปซิฟิกมาร่วมประชุมออนไลน์ในวันแรกของงาน Asia-Pacific Digital Rights Forum เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566 เพื่อหารือประเด็นด้านสิทธิดิจิทัลที่เร่งด่วนที่สุดในภูมิภาค
ปาฐกถาพิเศษ: สถานการณ์ของสิทธิดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก
ปาฐกถาพิเศษแสดงให้เห็นภาพรวมของความท้าทายต่าง ๆ ที่มีต่อสิทธิดิจิทัล ปาฐกถาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน และมีบริการล่ามแปลเป็นภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย พม่า เขมร และไทยChat Garcia Ramilo กรรมการบริหารของ Association for Progressive Communications กล่าวถึงวิธีที่ผู้คนถูกคุกคามสิทธิดิจิทัลจากการใช้เทคโนโลยีสอดแนมและนโยบายที่จำกัดเสรีภาพในการพูด รวมถึงการขาดกฎระเบียบควบคุมภาคเทคโนโลยีและฝ่ายต่าง ๆ ที่มิใช่รัฐ
Ramilo เน้นว่าผู้สนับสนุนจำเป็นต้องมีส่วนร่วมมากขึ้นในการอภิปรายเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ในขณะที่มีความเคลื่อนไหวเพื่อแปรรูปโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว Ramilo กล่าวว่าจำเป็นต้องมองว่าอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งHelani Galpaya ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ LIRNEasia ซึ่งทำหน้าที่เป็นคลังสมองที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายดิจิทัล กล่าวว่าการเข้าใช้ดิจิทัลอย่างมีความหมายเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการใช้สิทธิในโลกดิจิทัล การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ทดสอบทางธรรมชาติที่เลวร้ายที่สุดเกี่ยวกับผลกระทบของการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เธอยกตัวอย่างถึงวิธีที่การเข้าถึงการศึกษาเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของครัวเรือนในเอเชียใต้
ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันวิเศษยิ่งแห่งจักรวรรดิอังกฤษ (Knight Commander of the Most Excellent Order of the British Empire หรือ KBE) ย้ำถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจในโลกดิจิทัล แม้ว่าผู้พิทักษ์สิทธิจะตรวจสอบและถ่วงดุลมิให้เกิดการใช้อำนาจโดยมิชอบ ทว่าคนเหล่านี้ทำงานในบริบทที่คลุมเครือเนื่องจากหลายประเทศในเอเชียมีบริบทที่ไม่เป็นประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเกี่ยวกับการที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ผูกขาดข้อมูลอีกด้วย
บรรดาผู้ร่วมอภิปรายเน้นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายที่เคารพสิทธิของประชาชน อีกทั้งยังระบุว่าผู้พิทักษ์สิทธิต้องมีส่วนร่วมในการประชุมที่มีขอบเขตนอกเหนือจากสิทธิดิจิทัลตามปกติเพื่อมีกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันเป็นประโยชน์
การประชุมกลุ่มย่อยที่สำคัญ
การประชุมกลุ่มย่อยเกี่ยวกับแนวคิดสุดโต่งได้ย้ำถึงความตึงเครียดระหว่างเสรีภาพในการพูดกับการหันไปใช้คำพูดแสดงความเกลียดชัง วิทยากรยอมรับว่าจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมและการเมืองในท้องถิ่นซึ่งกำหนดขอบเขตของการพูด แต่ยังชี้ให้เห็นว่าเราต้องตกลงกันเรื่องแนวคิดสากล
ในการประชุมหัวข้อความยุติธรรมทางเพศ วิทยากรพูดถึงประเด็นการใช้การเล่าเรื่องเพื่อเน้นเรื่องเล่าของกลุ่มคนชายขอบ นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องรวมพลังกันเพื่อใช้พื้นที่ดิจิทัลอย่างมีมนุษยธรรมมากขึ้น
ในการอภิปรายเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสภาพภูมิอากาศและอินเทอร์เน็ต วิทยากรกล่าวว่าการเข้าถึงข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ผู้คนมีส่วนร่วมในความพยายามสร้างความยุติธรรมทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะกลายเป็นแผนดำเนินการต่อไป โดยคำนึงถึงความเร่งด่วนของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อชุมชนพื้นเมือง
ในหัวข้อเผด็จการทางดิจิทัล วิทยากรกล่าวถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทางการใช้ปราบปรามการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย เช่น การรณรงค์เรื่องการบิดเบือนข้อมูล กฎหมายที่เข้มงวด และการโจมตีทางดิจิทัลแบบกำหนดเป้าหมาย
การขยายขอบเขตการสนทนาและการมีส่วนร่วมของผู้ยังไม่มีโอกาสเข้าร่วมเป็นสิ่งสำคัญในการหารือเรื่องความยุติธรรมของข้อมูล เนื่องจากวิทยากรกล่าวว่าชุมชนเข้าใจเรื่องแนวคิดและพลวัตของอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อการกำหนดบรรทัดฐานแตกต่างกันไป
ข้อมูลบิดเบือนยังคงเป็นปัญหายุ่งยากในเอเชียแปซิฟิก วิทยากรกล่าวว่าจัดการกับเรื่องนี้ได้ลำบากเมื่อผลประโยชน์ขององค์กรมีอิทธิพลต่อปัญหานี้ ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลจะต้องเหมาะกับบริบทนั้น ๆEngageMedia ขอเชิญชวนผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้หารือกันต่อที่ Forum.EngageMedia.org/Discuss
Join the Asia-Pacific Digital Rights Forum
Be part of the ongoing conversations on Day 2 of the Forum! To join, register for an account on Forum.EngageMedia.org.