Skip to content

Read the DRAPAC23 Statement of Solidarity

  • Digital Rights
  • Open Technology
  • Video For Change

งานรวมพลังในเมืองธากาย้ำเรื่องเสรีภาพในการพูดและประเด็นเรื่องเพศ

  • 8 กุมภาพันธ์ 2023
  • 11:44 am

This post is also available in: อังกฤษ อินโดนีเซีย พม่า Khmer

ผู้เข้าร่วมรวมตัวกันที่ YWCA Conference Hall ในลาลมาเทีย เมืองธากา เพื่อร่วมงานรวมพลังที่ EngageMedia และ Digitally Right จัดขึ้น

นักวิชาการ ผู้สื่อข่าว นักกฎหมาย นักสิทธิสตรีและ LGBT ประมาณ 30 คน รวมทั้งนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและดิจิทัลอื่น ๆ มารวมตัวกันที่ลาลมาเทีย เมืองธากา เพื่อพบกับผู้สนับสนุนด้านสิทธิที่งานประชุม Asia-Pacific Digital Rights Forum ในประเทศบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566EngageMedia ร่วมกับ  Digitally Right จัดงานนี้ขึ้นคู่ขนานกับงานรวมพลังอีก 4 แห่งในกรุงเทพฯ จาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ และมะนิลา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้มีสถานที่พบปะและรวมพลังในระดับภูมิภาคให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

Md. Saimum Reza Talukder รองศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย BRAC ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับเสรีภาพของ สื่อออนไลน์และการเซ็นเซอร์

เสรีภาพในการพูดในโลกออนไลน์ของบังคลาเทศ

งานเริ่มต้นด้วยหัวข้อเสรีภาพของสื่อออนไลน์และการเซ็นเซอร์ ซึ่งพูดถึงประเด็นต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้มีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดเสรีภาพในการพูด ไปจนถึงการอภิปรายเรื่องการจำกัดการพูดอย่างสมเหตุสมผลโดยไม่ขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน

Md. Saimum Reza Talukder รองศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย BRAC กล่าวถึงเสรีภาพในการแสดงออก การสอดแนมประชาชน แพลตฟอร์มของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ และความรับผิดชอบของผู้ใช้และรัฐที่จะทำให้เกิดเสรีภาพในการพูดในประเทศบังคลาเทศ Md. Talukder ย้ำว่าไม่ควรแบ่งแยกระหว่างสิทธิ์ในกับนอกโลกออนไลน์ “สิทธิ์ทั้งหมดที่คนได้รับนอกโลกออนไลน์ควรขยายขอบเขตไปถึงโลกออนไลน์ด้วย” Md. Talukder กล่าว

Rezaur Rahman Lenin ทนายความและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนยกตัวอย่างการจำกัดการใช้อินเทอร์เน็ตในบังกลาเทศ โดยกล่าวถึงแนวโน้มการเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างต่อเนื่อง และบทบาทของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการโจมตีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทางออนไลน์ Lenin ยังกล่าวถึงหลักการชี้แนะเพื่อรักษาสมดุลระหว่างการจำกัดเนื้อหาที่เป็นอันตรายกับการปล่อยให้มีพื้นที่สำหรับการเล่าเรื่องเชิงวิจารณ์และการโต้แย้ง

Trishia Nashtaran ผู้ก่อตั้ง Meye Network และ Iffat Jahan Antara นักวิจัยชำนาญการอาวุโสของ BRAC Institute of Governance and Development หารือเรื่องการเมืองแนวสตรีนิยม คำพูดแสดงความเกลียดชังทางออนไลน์ และความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในโลกออนไลน์

การเมืองแนวสตรีนิยมและความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในโลกออนไลน์

การประชุมหัวข้อที่สองเกี่ยวกับคำพูดแสดงความเกลียดชังทางออนไลน์และความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในโลกออนไลน์ เริ่มเปิดการหารือด้วยเรื่องการเมืองแนวสตรีนิยม การเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมทางสังคม และการต่อต้านความเท่าเทียมทางเพศในโลกดิจิทัล ผู้เข้าร่วมยังได้หารือเกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงและผลกระทบของคำพูดแสดงความเกลียดชังทางออนไลน์และความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในโลกออนไลน์ในกลุ่มประเทศซีกโลกใต้ โดยเฉพาะในบังคลาเทศ จากการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 พบกรณีการใช้ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นในช่วงที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาด ร้อยละ 63.51 ของผู้ตอบแบบสอบถาม 359 คนกล่าวว่าตนเผชิญกับความรุนแรงทางออนไลน์

การประชุมช่วงนี้เป็นการรวมตัวของนักเคลื่อนไหวสามคนจาก  Meye Network ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแสดงแนวคิดสตรีนิยมระดับรากหญ้าจากบังกลาเทศ เพื่ออธิบายเรื่องราวที่ตนอาสาทำงานกับผู้หญิงชาวบังกลาเทศและดำเนินงานอย่างมืออาชีพและเป็นอิสระ Trishia Nashtaran ผู้ก่อตั้งเครือข่ายและประธานผู้ก่อตั้ง OGNIE Foundation Bangladesh อธิบายว่าเครือข่ายก่อตั้งเป็นกลุ่มเฟซบุ๊ก (Facebook) เมื่อ 10 ปีก่อน และมอบพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้หญิงได้เล่าเรื่องความรุนแรงที่ตนเผชิญและหารือเกี่ยวกับการเยียวยา จากจุดนี้ เครือข่ายได้พัฒนาเป็นมูลนิธิ OGNIE ซึ่งครอบคลุมงานเกี่ยวกับสตรีนิยมแบบทับซ้อนและการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ LGBTQI และอัตลักษณ์อื่น ๆ ที่ถูกกีดกัน

Iffat Jahan Antara นักวิจัยชำนาญการอาวุโสของ BRAC Institute of Governance and Development พูดคุยเกี่ยวกับงานวิจัยของตนเรื่องคำพูดแสดงความเกลียดชังและการคุกคามทางออนไลน์ รวมทั้งการทำงานกับ UN Women เพื่อจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับต่อสู้กับความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ในขณะเดียวกัน Nafisa Tanjeem รองศาสตราจารย์ที่ Worcester State University ได้เข้าร่วมงานทางออนไลน์จากสหรัฐอเมริกาเพื่อหารือว่าแผนการทุนนิยมที่อยู่เบื้องหลังแพลตฟอร์มของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด และการไม่เปิดเผยตัวตนทางออนไลน์มีอิทธิพลต่อความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในโลกออนไลน์อย่างไร

ผู้เข้าร่วม FGDหัวข้อเทคโนโลยีแบบเปิดและปลอดภัยและผู้ดำเนินรายการ Rezaur Rahman Lenin

งานรวมพลังจบลงด้วยหัวข้อ FGD เพื่อประเมินว่าองค์กรภาคประชาสังคม ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน และผู้สนับสนุนด้านดิจิทัลในบังกลาเทศรับรู้มากน้อยเพียงใดเกี่ยวกับภัยคุกคามและการสอดแนมทางออนไลน์จากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้เข้าร่วมพูดคุยเรื่องวิธีลดภัยคุกคามเหล่านี้โดยใช้เทคโนโลยีแบบเปิดและปลอดภัย เช่น การใช้เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (virtual private network) เครื่องมือจัดการรหัสผ่าน (password manager) แบบเข้ารหัส และแอปพลิเคชันส่งข้อความที่ปลอดภัย การอภิปรายยังพิจารณาเหตุผลเบื้องหลังการใช้หรือไม่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว และวิธีที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะทำงานได้อย่างปลอดภัย มีจรรยาบรรณ และยั่งยืนมากขึ้น

READ HIGHLIGHTS FROM DAY 1 OF THE FORUM

READ HIGHLIGHTS FROM DAY 2 OF THE FORUM

READ HIGHLIGHTS FROM DAY 3 OF THE FORUM

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

Subscribe to the EngageMedia mailing list

Two emails a month of all our best posts. View past newsletters.

Subscribe now!

EngageMedia is a non-profit media, technology, and culture organisation. EngageMedia uses the power of video, the Internet, and open technologies to create social and environmental change.

Mastodon X-twitter
  • Video
  • Blog
  • About
  • Resources
    • Video for Change Impact Toolkit
  • Partners
  • Contact