This post is also available in: อังกฤษ
ตั้งแต่เริ่มฉาย ‘Pattani Calling’ ได้รับการคัดเลือกเป็นส่วนหนึ่งของ ACT Human Rights Film Festival ในปี 2022 Pattani Calling เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ Tech Tales ของ EngageMedia ซึ่งเป็นแผนงานในการผลิตและนำเสนอภาพยนตร์ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล โพสต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความที่สำรวจเหตุผล บริบท และแรงบันดาลใจเบื้องหลังภาพยนตร์ ตามที่ทีมผู้สร้างบอกกับ EngageMedia
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของทหารที่เข้มงวดมาตั้งแต่ปี 2548 โดยประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์แทนที่จะเป็นชาวพุทธเหมือนกับส่วนอื่นในประเทศ ในตอนต้นรัฐบาลไทยได้ปกครองพื้นที่อย่างเข้มงวดเป็นเพื่อควบคุมสถานการณ์จากการโจมตีของกลุ่มต่อต้านที่ติดอาวุธที่ต่อสู้ต่อนโยบายการกลืนชาติชาวมุสลิมมาเลย์และเพื่อสถาปนารัฐมุสลิมอิสระ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ออกกฎหมายต่อต้านการก่อความไม่สงบ “พิเศษ” ซึ่งกลุ่มสิทธิมนุษยชนโต้แย้งว่าเป็นการกำหนดให้ชาวมาเลย์มุสลิมต้องตกอยู่ภายใต้การสอดแนมสอดส่องของรัฐอย่างไม่สมส่วนและไม่จำเป็น
วิจิตรา ดวงดี ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวไทยต้องการทราบว่าความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเกี่ยวเนื่องต่อเสรีภาพและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ของผู้คนที่อยู่ชายขอบได้อย่างไร ความอยากรู้ของเธอถูกกระตุ้นโดยความเชื่อมั่นของชาวมุสลิมที่เป็นชนกลุ่มน้อยหลายพันคนที่ปฏิเสธที่จะใช้บริการโทรศัพท์มือถือเนื่องจากข้อกำหนดด้านไบโอเมตริกซ์ที่รัฐบาลกำหนด
ใน Pattani Calling ดวงดีบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนที่ถูกบังคับให้ขาดการติดต่อจากการสื่อสารสมัยใหม่เพราะนโยบายดิจิทัลของรัฐ
“ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เราพูดถึงนโยบายดิจิทัลของรัฐบาลที่เรียกว่า ‘สองแชะ’ – การลงทะเบียนไบโอเมตริกซ์สำหรับซิมการ์ดที่บังคับใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าไม่ลงทะเบียนสัญญาณโทรศัพท์จะถูกตัด” ดวงดีอธิบาย “ผู้คนต้องเลือกระหว่างการถูกสอดแนมสอดส่องหรือไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือพื้นฐานของการสื่อสารสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็คือ โทรศัพท์มือถือ”
“ความมั่นคงของชาติ” เป็นพื้นฐานนโยบายของรัฐบาลไทยบางส่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัว ในขณะที่รัฐบาลได้โต้แย้งว่ามาตรการเหล่านี้มีความจำเป็น Human Rights Watch ชี้ให้เห็นว่ามาตรการเลือกปฏิบัติเหล่านี้ยิ่งทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชนกลุ่มน้อยในภาคใต้ของประเทศไทยรุนแรงขึ้น
ในฐานะพลเมืองไทย ดวงดีกลัวว่าผู้คนอาจเต็มใจยอมสละสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของตนอย่างง่ายดายเกินไปในทุกครั้งที่รัฐบาลกล่าวอ้างถึง “ความมั่นคงของชาติ” เธอคิดว่ามันเป็นเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจเมื่อชาวมาเลย์มุสลิมหลายพันคนเลือกที่จะต่อต้านนโยบายบีบบังคับของรัฐและการถูกสอดแนมสอดส่อง เพราะพวกเขาให้คุณค่าในศักดิ์ศรีและสิทธิขั้นพื้นฐานเหนือความสะดวกสบายสมัยใหม่
ดูภาพยนตร์ได้ที่
เรื่องราวของชุมชนที่มักถูกมองข้าม
การบอกเล่าเรื่องราวของความขัดแย้งที่มีมายาวนานและการสร้างภาพยนตร์ท่ามกลางโรคระบาดทำให้เกิดความท้าทายหลายประการสำหรับดวงดีและทีมงานของเธอ
“การนำเสนอหัวข้อที่ละเอียดอ่อนนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากคุณต้องประเมินความเสี่ยงและความปลอดภัยสำหรับทุกคนในทีมของคุณ ตลอดจนตัวเอกในภาพยนตร์อยู่เสมอ” ผู้สร้างภาพยนตร์กล่าว
เธอเสริมว่า: “มันเป็นพื้นที่ความขัดแย้ง และในขณะที่ทั้งพลเรือนและหน่วยงานความมั่นคงให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวก อะไรๆก็เกิดขึ้นได้”
ทีมผู้ผลิตยังต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับข้อปฏิบัติในการป้องกันโรค COVID-19 “เราต้องมีความยืดหยุ่นและเต็มใจที่จะปรับเปลี่ยนเรื่องราวของเราเล็กน้อย เช่น แทนที่จะสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ของรัฐแบบตัวต่อตัว เราต้องเปลี่ยนเป็นการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์และใช้ไฟล์ [ฟุตเทจ] เก่า เพื่อนำเสนอมุมมองอีกด้านในความขัดแย้งที่ซับซ้อน”
อย่างไรก็ตาม ดวงดีกล่าวว่าผลงานที่ออกมานั้นคุ้มค่ากับความท้าทาย เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เริ่มต้นการสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของสิทธิดิจิทัลในยุคของสอดแนมสอดส่องโดยรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นการให้ความสำคัญต่อชุมชนชายขอบ
“ฉันอยากบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนชาวมาเลย์มุสลิมในพื้นที่ซึ่งต้องทนทุกข์และอยู่ภายใต้สภาวะบีบบังคับของกฎอัยการศึกในตลอด 17 ปีที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับการกล่าวถึงในสื่อนานาชาติ” เธอกล่าว
EngageMedia ยังคงมองหาพันธมิตรในการฉายภาพยนตร์ สื่อมวลชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาคประชาสังคม สำหรับผู้สนใจ ติดต่อเราผ่านทาง: Tech Tales Partners page.