This post is also available in: อังกฤษ
บทความนี้เป็นตอนที่ 2 ของซีรี่ย์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของโซเชียลมีเดีย (social media) หรือเครือข่ายสังคมในปัจจุบันและการมองหาทางเลือกอื่นที่นอกเหนือจากแพลตฟอร์มต่างๆของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ หากคุณยังไม่ได้อ่านบทความแรก คุณสามารถอ่าน บทความที่ 1 ได้ที่นี่ และหากอ่านมาจนถึงบทความตอนนี้แล้ว สามารถตามอ่าน บทความที่ 3 ได้
ในบทความที่แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วว่า Facebook จะไม่เปลี่ยนแปลง[นโยบายธุรกิจของตนเอง] ถึงแม้ว่าจะมีปัญหามากมาย ทั้งที่เกี่ยวกับสิทธิดิจิทัลโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนโดยทั่วไป แต่แล้วเรามีสื่อทางเลือกอะไรให้เลือกบ้าง? ดูเหมือนว่าจะมีเพียง Twitter ที่ต่อต้านการบิดเบือนข้อมูลและการสนับสนุนการใช้ความรุนแรง ผ่านการออกมาเรียกร้องให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ จัดการกับปัญหาเหล่านี้ แต่ท้ายที่สุดแล้ว Twitter และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของบริษัทอื่น ๆ ยังคงมีปัญหาแบบเดียวกันกับที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆของ Facebook อยู่ดี ดังนั้นลองมาทำความรู้จักกับ Fediverse
“Fediverse เป็นคำผสมที่เชื่อมคำว่า ‘federation’ เข้ากับคำว่า ‘universe’ ซึ่งหมายถึง การสื่อสารออนไลน์ที่ส่งข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์ส่วนบุคคลหรือชุมชนที่ทำงานโดยเชื่อมต่อกันผ่านระบบ Fediverse ซึ่งได้รับการนำมาใช้ในการผลิตการสื่อสารแบบกระจายอำนาจ (decentralised) ในหลากหลายรูปแบบบนเว็บ ยกตัวอย่างเช่น เครือข่ายโซเชียลมีเดีย, microblogging (คือ การเขียนและโพสต์ blog แบบสั้นๆ), แบบ blogging (หมายถึง การเขียนและโพสต์ blog แบบยาวขึ้น), หรือ แบบ websites ต่างๆ”
ในบทความนี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงเหตุผล 4 ข้อว่าทำไม แพลตฟอร์ม Fediverse จึงดีกว่า Facebook ในแง่ของวิธีที่ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มพยายามทำงานตอบโจทย์เกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่มาจากโซเชียลมีเดียของบริษัทหลายแห่ง รวมทั้งเหตุผลว่าทำไมเราถึงสนับสนุนให้ทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่เบื่อหน่ายกับกับปัญหาบน Facebook พิจารณาการย้ายแพลตฟอร์ม ดังนั้น บทความนี้ตั้งใจที่จะมุ่งเน้นไปที่การแนะนำแพลตฟอร์มที่เป็นทางเลือกใหม่ นั่นคือ Mastodon — ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มหนึ่งของ Fediverse ที่ได้รับความนิยมสูงสุด แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกเข้าสู่ Fediverse โดยแพลตฟอร์มใดก็ตาม ก็ล้วนไม่แตกต่างกันมากนัก
เหตุผลที่ 1: แพลตฟอร์มของระบบ Fediverse สร้างพื้นที่การเชื่อมโยงต่อทางดิจิทัลถึงกันได้
Fediverse จึงเป็นระบบเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางที่ใช้สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บ
เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของการควบรวม (federation) ผู้เขียนพบว่าอีเมลคือตัวอย่างชัดเจนที่สุด ไม่ว่าคุณจะเปิดใช้บัญชีอีเมลจากบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆบริษัทไหน เช่น Gmail, Outlook, Yahoo Mail หรือ Apple Mail หรือไม่ว่าบัญชีอีเมลเหล่านี้จะเป็นบัญชีอีเมลที่ทำงาน หรือที่เป็นบัญชีอีเมลส่วนตัว หรือบัญชีประเภทอื่น ๆ สิ่งที่ควรรู้คือ คุณสามารถส่งอีเมลถึงบุคคลใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีอีเมลประเภทใด หรืออยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากกรณีของโซเชียลมีเดียยอดนิยมทั้งหลายนั้น เพราะปกติแล้วคุณไม่สามารถกด Like บนโพสต์ Tweet ผ่านบัญชี Facebook ของคุณได้ คุณไม่สามารถแสดงความคิดเห็นบนวิดีโอ YouTube โดยใช้บัญชี Instagram ของคุณได้ คุณไม่สามารถติดตามบัญชีบนแพลตฟอร์ม TikTok โดยใช้ Pinterest หรือ LinkedIn ของคุณ และอื่นๆ อีกมากมาย.
แนวคิดแบบ Federation คือการที่แพลตฟอร์มอย่าง Fediverse (แพลตฟอร์มที่รวมเอาการเชื่อมต่อของเซิร์ฟเวอร์ต่างๆที่ใช้ในการเผยแพร่เว็บไซต์เข้าด้วยกัน) สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ในวิธีเหล่านี้ หากคุณสร้างบัญชีผู้ใช้ Mastodon (ทางเลือก Fediverse ของ Twitter) คุณสามารถกดไลค์โพสต์ใน Friendica (ทางเลือก Fediverse ของ Facebook) และด้วยบัญชีผู้ใช้ Mastodon เดียวกันนั้น คุณสามารถติดตามบัญชีผู้ใช้อื่นๆ และดูวิดิโอบน PeerTube (ทางเลือกของ Youtube) และติดตามบัญชีผู้ใช้เพื่อดูภาพต่างๆบน Pixelfed (ทางเลือกของ Instagram)
เหตุผลที่ 2: แพลตฟอร์มที่สร้างบนระบบ Fediverse มีความโปร่งใสมากกว่า
Facebook ได้ให้สัญญากับพวกเราว่าจะปรับปรุงแนวนโยบาย แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลหรือไม่ เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่ Facebook ใช้ไม่ได้เป็น ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ปัญหาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์แบบปิด คือนักพัฒนาไม่สามารถตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ เช่นอัลกอริทึมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทนั้นที่จะทำอะไรได้บ้าง และข้อมูลใดบ้างที่ถูกเก็บไว้ในระบบ (รวมถึงบริษัทจะทำอะไรกับข้อมูลที่เก็บไปนั้นในท้ายที่สุด) เนื่องจาก Fediverse เป็นแพลตฟอร์มฟรีและเป็นโอเพ่นซอร์ส (free and open-source software หรือ FOSS) ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม Mastodon ก็จะมีการแสดงแหล่งที่มาของโค้ดคอมพิวเตอร์ที่สามารถให้บุคคลสาธารณะเข้าใจและตรวจสอบได้ สิ่งนี้ช่วยให้ผู้คนเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นภายใต้ความไม่โปร่งใสโดยปราศจากการใช้ วิศวกรรมย้อนกลับ (reverse engineering)(ผู้แปลอธิบายเพิ่มเติม: ซึ่งหมายถึง การแยกแยะอย่างละเอียดของโค้ดคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อหาความหมายของโค้ดนั้น ๆ ว่ามีการทำงานและเชื่อมโยงกันอย่างไร เพื่อมุ่งแก้ไขจุดผิดของโค้ด และยังช่วยพัฒนาโปรแกรมใหม่ ๆ ได้อีกด้วย)
เหตุผลที่ 3: แพลตฟอร์มที่สร้างบนระบบ Fediverse นั้นฟรีหรือมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า
แม้ว่าผู้ใช้บริการ Facebook จะไม่ต้องจ่ายค่าบริการรายเดือน แต่พวกเขากำลังจ่ายด้วยข้อมูลของตนเองแท้ที่จริงแล้ว ตามที่ Douglas Rushkoff นักทฤษฎีสื่อได้กล่าวเอาไว้ว่า “เราไม่ใช่ลูกค้าของ Facebook ทว่าเราคือผลิตภัณฑ์” เขายังเขียนเพิ่มเติมไว้ด้วยว่า:
“คุณลองถามตัวเองสิว่า ใครจ่ายเงินให้ Facebook ซึ่งโดยปกติคนที่จ่ายเงินถือว่าเป็นลูกค้า ส่วนบริษัทโฆษณาต่างๆ คือกลุ่มที่จ่ายเงิน หากคุณไม่รู้ว่าใครคือลูกค้าของผลิตภัณฑ์ที่คุณกำลังใช้อยู่ ดังนั้นคุณก็จะไม่รู้หรอกว่าผลิตภัณฑ์นี้มีไว้เพื่ออะไร หากเราไม่ใช่ลูกค้าของ Facebook ฉะนั้น เราคือผลิตภัณฑ์ของ Facebook และ Facebook กำลังขาย[ข้อมูลของ]ตัวเราให้กับบริษัทโฆษณาทั้งหลาย”
เนื่องจากแพลตฟอร์มต่างๆ ที่สร้างบนระบบ Fediverse ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อการลงโฆษณา จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อัลกอริทึมที่ชักจูงและสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้คุณใช้เวลาบนแพลตฟอร์มนั้นๆให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ รวมทั้งการใช้วิธีการโปรโมตเนื้อหาที่บิดเบือน การก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิดเห็นและแบ่งออกเป็นสองขั้ว ไปจนถึงการทำให้ผู้ใช้กลายมาเป็นพวกสุดโต่งทางความคิด แพลตฟอร์มที่อยู่ในระบบ Fediverse นั้นไม่จำเป็นต้องใช้การโฆษณาที่มุ่งเป้าไปยังผู้ใช้ อันเป็นรากฐานของเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญต่อการสอดส่องบนโลกออนไลน์ภายใต้ระบบทุนนิยม
เหตุผลที่ 4: แพลตฟอร์ม Fediverse มีการกระจายอำนาจ
ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้ ถึงปัญหาหลักอย่างหนึ่งของ Facebook คือ อำนาจในการเปลี่ยนแปลงนโยบายธุรกิจนั้นตกอยู่ในมือของ Mark Zuckerberg และผู้มีอิทธิพลเพียงไม่กี่คน
หากคุณไม่พอใจกับ social network อย่าง Mastodon ที่คุณใช้งานอยู่ คุณมีทางเลือกอื่น ๆ อีกมากมายเนื่องจากแพลตฟอร์ม Fediverse มีการแยกกระจายข้อมูลออกจากระบบศูนย์กลาง (แต่เชื่อมต่อถึงกัน) คุณสามารถลองใช้ social network อื่นๆบนแพลตฟอร์ม Fediverse ที่มีโอกาสจะได้พบเจอกับชุมชนที่มีผู้ใช้คนอื่นๆ ที่มีความคิดแบบเดียวกัน หรือ moderators ที่มีปฏิสัมพันธ์กับคุณมากกว่า ถ้าเทียบกับ moderators ที่พัฒนาบน AI เทคโนโลยีอย่างไม่ระมัดระวัง หากคุณไม่พอใจกับ social networkใด ๆ เลยที่มีอยู่บนแพลตฟอร์ม Fediverse คุณสามารถสร้าง social network ใหม่ๆ บนแพลตฟอร์ม Fediverse ด้วยตัวคุณเอง คุณยังสามารถสร้างการพัฒนา fork แยกต่างหากออกมา และเพิ่ม features ที่คุณชอบหรือลบออกที่คุณไม่ไม่พอใจ (แต่ว่าทางเลือกนี้อาจทำให้เกิดปัญหาภายในตัวของมันเอง) และถ้าหากคุณไม่ชอบ Mastodon เลย คุณยังคงสามารถติดต่อกับทุกคนที่คุณมี contact ด้วยบนแพลตฟอร์ม Fediverse โดยเพียงแค่สร้างบัญชีบน social network ต่างๆบน Fediverse เรายังสามารถเข้าหานักพัฒนาระบบที่อยู่เบื้องหลังการสร้าง Fediverse ได้มากกว่า Mark Zuckerberg (และผู้บริหารคนอื่น ๆ ของบริษัทยักษ์ใหญ่) ทั้งนี้เพราะว่า โดยปกติแล้วนักพัฒนาระบบ Fediverse จะทำงานบนแพลตฟอร์มของตนและ (โดยปกติ) จะรับฟังความคิดจากชุมชนผู้ใช้และผู้ร่วมให้ข้อมูลของตน สิ่งที่สำคัญนั่นคือ อำนาจในการมีอิทธิพลต่อ Fediverse ไม่ได้ถูกผูกขาดโดยคนเพียงคนเดียว (หรือกลุ่มคน อย่างที่ปรากฏให้เห็นกันอยู่)
เนื่องจากระบบ Fediverse มีความโปร่งใส ทำให้ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างสะดวก มีอิสระเสรี และกระจายอำนาจมากขึ้น จึงมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นไปด้วย ดังนั้น ค่านิยมเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัทเทคโนโลยีได้สร้างผลกระทบที่เป็นลบ (และยังคงดำเนินต่อไป) ต่อประชาธิปไตย
ก้าวต่อไปคืออะไร?
ในขณะที่ผู้เขียนได้สรุปเหตุผลสี่ประการเกี่ยวกับการเปลี่ยนมาใช้ Fediverse แต่ในขณะนี้ได้มีการกล่าวซ้ำ ๆ อีกว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถใช้ระบบนี้ได้ สำหรับผู้ที่สามารถใช้ทางเลือกนี้ได้ ตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงนี้มันดูจะเป็นหน้าที่ที่ดูมีความท้าทาย ถึง Facebook จะได้ทำให้ผู้ใช้เลิกใช้ Facebook ได้ยากมาก ถึงกระนั้น คนอื่น ๆ ก็ได้เลิกใช้ Facebook ไปแล้วและอีกหลาย ๆ คนก็กำลังตามกันมา อย่างน้อยที่สุดบทความนี้อยากชวนให้คุณมีความสนใจมากขึ้นในการสื่อสารระบบ Fediverse ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการนำคุณเข้าสู่การทำความเข้าในเกี่ยวกับระบบของ Fediverse รวมทั้งการแนะนำถึงการสร้างบัญชีต่างๆ บนระบบ Fediverse:
อย่างไรก็ตาม จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ระบบ Fediverse ก็ ไม่ได้ปราศจากข้อบกพร่องโดยเฉพาะเมื่อมันยังคงอยู่ภายในระบบนิเวศทางดิจิทัลในปัจจุบัน
บทความที่ 3 ของซีรี่ส์นี้ จะสรุปข้อจำกัดบางประการและความท้าทายในการใช้ระบบ Fediverse และเครื่องมือต่างๆที่พัฒนาจากกลุ่มเคลื่อนไหว FOSS และทำอย่างไรที่เราจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาได้”
เกี่ยวกับผู้เขียน
Red Tani ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง Advocacy and Communications Director ขององค์กร EngageMedia Red เน้นทำงานรณรงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านการเล่าเรื่องด้วยวิดีโอ เครื่องมือออนไลน์ เทคโนโลยีที่ทั้งฟรี ปลอดภัย และตั้งอยู่บนหลักจริยธรรม