This post is also available in: อังกฤษ
ในขณะที่กำลังเขียนอยู่นี้ กลุ่มรณรงค์ Stop Hate for Profit ได้มีการเชิญชวนให้บุคคลที่มีชื่อเสียงหยุดลงโฆษณาบน Facebook โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคว่ำบาตรบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่นี้ ซึ่งผู้เขียนได้ชี้แจงไปแล้วใน บทความที่ 1 ของซีรีย์นี้ ปรากฏว่าได้มีผู้หยุดลงโฆษณามากกว่า 1,000 ราย แม้ว่ามุมมองของผู้ที่มองแคมเปญนี้แบบเสียดสีจะมองว่าเป็นเพียงแค่ “การคว่ำบาตรแค่ชั่วคราว” หรือ “บริษัทต่างๆที่เข้าร่วมการคว่ำบาตรนี้ทำเพื่อเพิ่มผลกำไรโดยการโฆษณาตนเองในที่สาธารณะ” ทว่าก็ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ก็ทำให้เห็นว่า การรณรงค์ Stop Hate for Profit ได้ตั้งคำถามที่ถูกต้องและอาจจะได้สร้างความท้าทายในเรื่อง ดังต่อไปนี้
“ถ้าบริษัทที่แสวงหาผลกำไร ดำเนินการคว่ำบาตร Facebook ทำไมองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรจึงไม่ทำแบบบริษัทเหล่านี้บ้าง”
คำถามนี้มีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานทางด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบางองค์กรที่รู้จักปัญหารูปแบบธุรกิจของ Facebook เป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง งานรณรงค์ทางด้านสิทธิมนุษยชนผ่านสื่อโซเชียลอย่าง Facebook นั้นอาจเรียกว่าเป็นการ “ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว แต่ก้าวถอยหลังกลับมาอีกสองก้าว” แม้ว่าจะสามารถสร้างการตระหนักรู้และกระแสที่แสดงผลงานที่มีความก้าวหน้าสะท้อนกลับมาให้เห็น แต่องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรกลับต้องสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเผชิญปัญหาทางการเมืองหลากหลายรูปแบบที่มาพร้อมกับ การสอดส่องบนโลกออนไลน์ภายใต้ระบบทุนนิยม
ในบทความแรกของซีรี่ย์นี้ ได้กล่าวถึงการค้นหาสื่อ ทางเลือกอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากโซเชียลมีเดียของบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้โต้แย้งไปว่า Facebook เองนั้นจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง [นโยบายต่างๆ ของบริษัทตนเอง] ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้แนะนำสื่อทางเลือกต่างๆ ที่พัฒนาบนระบบ Fediverse ซึ่งสร้างมาจากซอฟต์แวร์ Free and Open-Source Software (FOSS) เพื่อมาทดแทน Facebook และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อื่น ๆ ในบทความที่สอง เพราะเหตุใดนักเคลื่อนไหวเพื่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมถึงไม่เลิกใช้ Facebook โดยเปลี่ยนมาใช้สื่อ ทางเลือกอื่นๆที่ยึดหลักจริยธรรมมากกว่า และเพื่อการกล่าวสรุปชุดบทความนี้ ผู้เขียนได้เขียนถึงประเด็นความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการหันมาใช้สื่อโซเชียลบนระบบ Fediverse และแพลตฟอร์มที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยหวังว่าการเขียนถึงข้อจำกัดเหล่านี้ จะช่วยทำให้มีการยกเอาปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขมากขึ้น
1. เพราะว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณอาจจะอยู่บนแพลตฟอร์ม Facebook
โดยพื้นฐานแล้ว การสื่อสารคือการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ที่ติดตามรับรู้ข่าวสารบนสื่อที่พวกเขาใช้ และที่น่าเสียดายก็คือ ไม่ว่าคุณจะสื่อสารบนสื่อไหน หรือให้รณรงค์ปัญหาในประเด็นใด มีโอกาสที่กลุ่มผู้ที่ติดตามรับข่าวสารหลักๆของคุณ ก็กำลังใช้ Facebook หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของบริษัทอื่นๆอยู่มาก Facebook ระบุว่าในไตรมาสแรกของปี 2563 “ในแต่ละเดือนมีจำนวนผู้ใช้บริการ 2.99 พันล้านคนที่กำลังใช้ผลิตภัณฑ์หลักๆ ของบริษัทอย่างน้อยหนึ่งผลิตภัณฑ์ (ไม่ว่าจะเป็น Facebook, WhatsApp, Instagram หรือ Messenger)” แม้จะมีจำนวนการใช้งานลดลงเล็กน้อย เช่น ผลกระทบจากการคว่ำบาตรโฆษณาล่าสุด แต่ตัวเลขดังกล่าวยังมีแนวโน้มสูงขึ้น อันเนื่องมาจาก COVID-19 ที่ทำให้มีสถิติการใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้สูงขึ้น ผู้เขียนจะอธิบายเพิ่มเติมในบรรทัดด้านล่างนี้ ว่าทำไมถึงเป็นไปได้ที่อาจเป็นเช่นนี้อยู่เรื่อยๆต่อไป แต่ท้ายที่สุด หากคุณเป็นนักรณรงค์ที่ต้องการประชาสัมพันธ์ประเด็นบางประเด็น กลุ่มคนที่จำเป็นต้องรับฟังคุณ ก็มีแนวโน้มที่จะใช้ Facebook และสำหรับคนที่คิดจะเลิกใช้ Facebook (หรือแม้แต่ใช้งานน้อยลง) เพราะนั่นหมายความว่าคุณจะต้องพยายามในการหาทางติดต่อสื่อสารกับคนกลุ่มหลังนี้มากขึ้น
การโน้มน้าวใจให้ผู้คนเลิกใช้ Facebook (หรือการเลือกใช้ด้วยวิธีที่ต่างออกไป) ถือได้ว่าเป็นประเด็นในการรณรงค์ได้เลยที่เดียว และนี่เป็นงานหนักเพิ่มสำหรับนักเคลื่อนไหวจนหลายๆคนไม่สามารถรับไหว
2. Facebook เปิดโอกาสให้ประเด็นที่นำมาโพสต์กลายเป็นประเด็นฮอตฮิต (viral)-แชร์ต่อกันไปอีกอย่างมากมายและรวดเร็ว
ก่อนที่เกิดกรณีอื้อฉาวอย่าง Cambridge Analytica และเรื่องอื่นๆที่คล้ายคลึงกันจนก่อให้เกิด Techlash การที่กล่าวถึงประโยชน์ของสื่อโซเชียลที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องที่ได้ยินกันมาแล้วบ่อยๆ (cliché) จากเหตุการณ์ของการลุกฮือของประชาชนในขบวนการทางสังคมต่างๆ เช่น the Arab Spring ในกลุ่มประเทศอาหรับและการเคลื่อนไหวต่างๆ อาทิ กลุ่ม #MeToo ตัวอย่างเหล่านี้ได้ถูกอ้างว่าโซเชียลมีเดียสามารถยกระดับนักเคลื่อนไหวในการต่อกรกับผู้ที่มีอำนาจ และสามารถทำให้คนที่ไม่มีอำนาจสามารถโค่นล้มผู้มีอิทธิพลลงได้ แม้ว่าเมื่อไม่นานมานี้ ฝ่ายบริษัทและรัฐบาลได้ตกลงร่วมมือกันเพื่อผลักดันผลประโยชน์ของตนเอง โอกาสที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่มีวิสัยทัศน์ก้าวหน้าจะสามารถเข้าถึงผู้คนนับล้านได้นั้นก็ยังคงมีอยู่ และความเป็นไปได้ดังกล่าวก็ยากที่จะเพิกเฉยได้
Facebook ประสบความสำเร็จในการกำหนดความคาดหวังว่าการรณรงค์อย่างก้าวหน้าที่ประสบความสำเร็จควรเป็นอย่างไร หากโพสต์ต่างๆของคุณไม่ได้มีจำนวนผู้เข้าชมเป็นหลักพัน และไม่ได้มีเข้าถึงคนเป็นหลักแสน คุณต้องคิดแล้วว่ากำลังทำอะไรผิดพลาดอยู่รึเปล่า แม้ว่าจะมีวิธีการวางแผนและการวัดผลลัพธ์ที่ดีกว่านี้ แต่นักเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงหลายคนก็อยากที่จะให้แคมเปญของตนมีโอกาสที่จะเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วและขยายออกไปมากกว่านี้
3. ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ Facebook ก็จะมีเทคโนโลยีที่ “ดีกว่า” สื่อทางเลือกที่สร้างมาจากของ FOSS เสมอ
จากแหล่งข้อมูลทาง statista.com Facebook ระบุว่าได้มีผู้ลงโฆษณาที่กำลังใช้บริการอยู่จำนวน 8 ล้านรายในไตรมาสแรกของปี 2563 แม้ว่าจะมีชื่อบริษัทรายใหญ่หลายแห่งอยู่ในรายชื่อบริษัทที่ร่วมคว่ำบาตร Facebook แต่มีบริษัทและปัจเจกชนที่ลงโฆษณาเพียง 1,000 รายเท่านั้นที่ร่วมบอยคอต นั่นหมายความว่า มันแทบที่จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ Facebook เลย
Facebook ไม่เพียงจ้างนักออกแบบ นักพัฒนา และผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยเงินโฆษณาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ที่อยู่นอกสาขาทางด้านเทคโนโลยี (เช่น ด้านพฤติกรรม จิตวิทยา และด้านอื่น ๆ) เพื่อให้แน่ใจว่า หากเทียบกับคู่แข่งแล้วการใช้ Facebook นั้นสนุก สะดวกใช้ และทำให้เสพย์ติดมากยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าคำว่า“ ดีกว่า” นั้นขึ้นอยู่กับนัยยะของผู้มอง และจากกรณี Techlash ที่เกิดขึ้น เกณฑ์ในการกำหนดว่าอะไรคือเทคโนโลยีที่ดีกว่านี้ไม่ได้รวมถึงความเป็นส่วนตัวหรือความปลอดภัยหรือจริยธรรมบนโลกออน์ไลน์ เพราะคนส่วนใหญ่จะสนใจเพียงแค่ interface ที่สวยงามการใช้งานที่ง่ายดาย และ features ที่ล้ำสมัยที่สุด – เทคโนโลยีที่กล่าวมานี้ Facebook สามารถลงทุนเพื่อพัฒนาขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย ชุด feature ต่างๆถูกพัฒนามาเพื่อครอบคลุมการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด จนบางคนทำกิจกรรมทุกอย่างบน Facebook ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน การเงิน ครอบครัว เพื่อน และความสัมพันธ์โรแมนติก แง่มุมต่างๆ เหล่านี้จัดรวมอยู่ในแพ็คเกจเดียว สำหรับนักกิจกรรมหลายคน กิจกรรมรณรงค์ของพวกเขานั้นเป็นเพียงแง่มุมหนึ่งที่พวกเขาเต็มใจจะเพิ่มเข้าไปใน Facebook ของพวกเขาที่ใช้เป็นประจำอยู่แล้ว
4. สื่อทางเลือก ที่สร้างจากซอฟท์แวร์ FOSS มักจะดึงดูดผู้ใช้งานที่มีปัญหาจากการถูกแบนจากแพลตฟอร์มบริษัท Tech ยักษ์ใหญ่
บ่อยครั้งที่ Facebook และบริษัทอื่นๆจะมีการปรับปรุงการตรวจสอบโพสต์ต่างๆก็ต่อเมื่อมีความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ Facebook และโซเชียลมีเดียของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ก็ได้พยายามปรับปรุงการตรวจสอบโพสต์ต่างๆจากชุมชนบนแพลตฟอร์มของตนเอง บริษัท Tech ยักษ์ใหญ่ได้ยกเลิกการสร้างแพลตฟอร์ม หรือแม้แต่แบนกลุ่มที่มีปัญหา ออกไปจากแพลตฟอร์มในระดับที่แตกต่างกันออกไป เช่น กลุ่ม neo-Nazis กลุ่ม anti-vaxxers และกลุ่มหัวรุนแรงต่างๆ เมื่อกลุ่มดังกล่าวถูกแบนออกมา แพลตฟอร์มที่สร้างจากซอฟท์แวร์ FOSS ได้ให้สื่อทางเลือกอื่นๆที่เป็นไปได้ โดยกรณีที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ เมื่อเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่เป็นอื้อฉาว Gab ย้ายไปยังโซเชียลมีเดีย Mastodon และ Mastodon เองก็ได้ตอบโต้ประเด็นนี้ เริ่มตั้งแต่การสนับสนุนให้บล็อก Gab ไปจนถึงการสนับสนุนเฉพาะกลุ่มที่มีอุดมคติที่มีความก้าวหน้า
แต่ประเด็นนี้ถือว่าเป็นปัญหาโดยทั่วไปกับ FOSS เพราะการเป็นสื่อที่เปิดกว้างหมายความว่า คุณไม่สามารถควบคุมการใช้ซอฟต์แวร์ของคุณได้อย่างเต็มที่
ก้าวต่อไปคืออะไร?
นักกิจกรรมเพื่อความเปลี่ยนแปลงแต่ละคนจะต้องเลือกเองว่าต้องการจะอยู่ในระดับไหน ระหว่างการใช้ Facebook อย่างเป็นประจำไปจนถึงการเลือกที่จะไม่ใช้ Facebook เลย นั่นก็ขึ้นอยู่กับพวกเขาว่าจะเต็มใจที่จะยอมรับหรือประนีประนอมต่อการสูญเสีย ที่เกี่ยวเนื่องกับการรณรงค์จัดกิจกรรมในยุคแห่งการสอดส่องภายใต้ระบบทุนนิยมได้มากแค่ไหน ท้ายที่สุดนี้ ผู้ที่เข้าใจถึงความเสียหายที่เกิดต่อสิทธิและคุณค่าของเราจาก Facebook คือบุคคลที่อาจจะมีแรงจูงใจมากที่สุดในการท้าทายอิทธิพลของ Facebook และเลิกใช้สื่อโซเชียลนี้ โดยหันมาใช้สื่อทางเลือกที่ดีกว่าอย่างแท้จริง แต่ถ้านักกิจกรรมสายก้าวหน้าเหล่านี้ยังไม่สามารถละทิ้ง Facebook ไปได้แล้วใครจะเริ่มทำ?
เกี่ยวกับผู้เขียน
Red Tani ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง Advocacy and Communications Director ขององค์กร EngageMedia Red เน้นทำงานรณรงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านการเล่าเรื่องด้วยวิดีโอ เครื่องมือออนไลน์ เทคโนโลยีที่ทั้งฟรี ปลอดภัย และตั้งอยู่บนหลักจริยธรรม