This post is also available in: อังกฤษ
บทความนี้เป็นบทความชิ้นแรกในซีรี่ย์ที่เกี่ยวกับภูมิทัศน์ของโซเชียลมีเดียในปัจจุบันและการมองหาทางเลือกอื่นที่นอกเหนือไปจากแพลตฟอร์มกระแสหลักที่มาจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมจากบทความในซีรี่ย์เดียวกันนี้ใน ตอนที่ 2 และ ตอนที่ 3 ซึ่งเราจะชวนถกเถียงถึงข้อดีและข้อจำกัดของแพลตฟอร์มทางเลือกดังกล่าว
เพื่อร่วมยืนหยัดเคียงกับขบวนการ Black Lives Matter บรรดาบริษัทอย่าง Adidas, Coca-Cola, Pepsi, Unilever, Verizon และอีกหลายบริษัทขนาดใหญ่ได้ประกาศที่จะหยุดการลงโฆษณาบน Facebook ในเดือนกรกฎาคม 2020 นี้ ในขณะที่เขียนบทความนี้รายชื่อบริษัทที่ประกาศเข้าร่วมแคมเปญ Stop Hate For Profit เติบโตขึ้นเป็น 800 ราย รวมทั้งบริษัท Unilever ได้ประกาศว่าจะขยายการคว่ำบาตรไปจนถึงสิ้นปี 2020 นี้
ข้อแนะนำทั้ง 2 ข้อแรกที่แคมเปญได้เรียกร้องให้ Facebook มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญต่อความเป็นผู้นำและความโปร่งใสของบริษัท ได้แก่
- การสร้างและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านสิทธิพลเมืองอย่างยั่งยืน รวมทั้งการให้มีผู้บริหารระดับ C-suite ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสิทธิพลเมือง เพื่อทำหน้าที่ในการประเมินผลิตภัณฑ์และนโยบายที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติ ความมีอคติ และความเกลียดชัง กลุ่มบุคคลนี้จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการออกแบบและการตัดสินใจของแพลตฟอร์มได้พิจารณาถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งหมดและความเป็นไปได้ในการก่อให้เกิดความรุนแรงและความเกลียดชัง
- การให้ผู้ตรวจสอบที่อิสระจากภายนอกสามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการสร้างความเกลียดชังและการบิดเบือนที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ทั้งนี้ ให้มีรายงานสรุปผลการตรวจสอบต่างๆเหล่านี้ที่เปิดเผยแพร่บนเว็บไซต์สาธารณะ หากไม่ทำเช่นนี้แล้วก็ยากที่จะทำให้พวกเราเชื่อถือว่า Facebook ได้ทำอะไรหรือไม่ทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ทางเดียวที่จะทำให้ “รายงานเพื่อความโปร่งใส” มีความน่าเชื่อถือได้นั้น ผู้เขียนรายงานควรต้องมีความเป็นอิสระอยู่เหนือจากอิทธิพลใดๆ
[/unordered_list]
แต่ปัญหาเกี่ยวกับคำพูดที่นำไปสู่ความเกลียดชังที่เกิดบน Facebook นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อเดือนที่แล้วพนักงานของ Facebook จำนวน 5,500 คนได้เรียกร้องให้ผู้บริหารบริษัทเปลี่ยนนโยบายต่างๆ แต่รายงานล่าสุดเปิดเผยว่าตั้งแต่ปี 2015 Facebook ให้สัมปทานกับประธานาธิบดีทรัมป์ที่ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องในเรื่องคำพูดที่นำไปสู่ความเกลียดชังเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการบิดเบือนข้อมูลอีกด้วย และไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ มีการค้นพบรายละเอียดใหม่ๆที่มาจากการประชุมลับในปี 2019 ระหว่าง Zuckerberg กับ Trump ซึ่งอ้างว่ามีการสร้าง “พันธมิตรที่น่ากังวลอย่างยิ่ง” ซึ่งเพิ่มรายละเอียดให้กับบริบทเกี่ยวกับเรื่องการพบกันระหว่าง Zuckerberg กับ Trump มากขึ้น
เช่นเดียวกับหลายปัญหาของ Facebook รวมทั้งการที่เคยให้คำสัญญาว่าจะให้มีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แถมยังมีความล่าช้า (หรือล้มเหลว) ที่จะทำตามสัญญานั้นๆ จะเห็นได้จากการที่ Facebook ในตอนแรกได้ให้คำมั่นในการต่อสู้ต่อการบิดเบือนข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับโรคระบาด COVID-19 แต่ภายหลังก็มี รายงานชิ้นหนึ่งเปิดโปงว่า Facebook อนุญาตให้บริษัทโฆษณาเข้ามาเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการบน Facebook ที่มีแนวโน้มที่จะเชื่อในการบิดเบือนข้อมูลได้อย่างไร หลังจากกรณีเรื่องอื้อฉาวที่เกี่ยวกับ Cambridge Analytica ปัญหาดังกล่าวซึ่งรวมไปถึงเรื่องหนึ่งจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ – ควรได้รับการแก้ไขในเชิงรุกมากขึ้น (หรือแม้กระทั่งป้องกันการเกิดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นมาใหม่ได้ทั้งหมดทั้งหมด)
แม้จะเห็นผลสำเร็จเพียงเล็กน้อยหรือเพียงแค่แอบแฝง อยู่ในแคมเปญเพื่อแก้ไขแพลตฟอร์ม Facebook นี้ แต่อย่างไร Facebook ““ก็จะไม่เปลี่ยนแปลง”:
“เราจะไม่เปลี่ยนนโยบายหรือแนวทางในการดำเนินการใด ๆ เพราะความเสี่ยงในการสูญเสียเปอร์เซ็นต์ของรายได้ของเราแม้จะเพียงน้อยนิดก็ตาม หรือผลกระทบต่อเปอร์เซ็นต์ของรายได้ของเรา” คำกล่าวในการประชุมใหญ่ที่เกิดขึ้นออนไลน์ในวันศุกร์ ตามที่อ้างโดยเว็บไชต์ The Information “ผมว่าผู้ลงโฆษณาเหล่านี้จะหวนกลับมา[ลงโฆษณา]บนแพลตฟอร์มของเราเร็วๆ นี้” Zuckerberg ได้กล่าวไว้ ตามที่อ้างโดยเว็บไชต์ The Information ซึ่งยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า การคว่ำบาตรจากบริษัทอื่นๆนั้นเป็น “เพียงจะกระทบต่อชื่อเสียงและคู่ค้าของเรา” มากกว่าที่จะเป็นปัญหาในเรื่องการเงิน เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของ Facebook นั้นมาจากธุรกิจขนาดเล็ก แต่ไม่ใช่มาจากบริษัทแบรนด์ขนาดใหญ่
ท้ายที่สุดนี้ การที่จะเปลี่ยนการบริหารของ Facebook ที่จะให้ได้ผลนั้นก็ขึ้นอยู่กับคนคนเดียวอย่าง Zuckerberg การเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรวมอำนาจของ Facebook หรือบรรดาเครือข่ายของ Zuckerberg นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดและหลายคนก็ยังเดินหน้าเรียกร้องต่อสู้ต่อไป สืบเนื่องมาจากความเป็นพันธมิตรที่ชัดเจนของ Facebook กับทำเนียบขาว รวมทั้งการเพิ่มจำนวนของรายได้และฐานผู้ใช้บริการในแพลตฟอร์มต่างๆของบริษัท ทำให้ Facebook อาจใหญ่เกินกว่าที่จะถูกทำลายได้อย่างง่ายๆ ในขณะที่เรายังควรที่จะต้องเรียกร้องทวงคืนอำนาจการยึดครอง[อินเตอร์เน็ต]แต่เพียงผู้เดียวที่ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างยาวนานของ Facebook เรายังสามารถพิจารณาเลือกที่จะไม่ใช้หรือลดการใช้แพลตฟอร์มอย่าง Facebook แน่นอนว่าการเลือกไม่ใช้แพลตฟอร์ม Facebook นั้นยังคงถือว่าเป็นสิทธิพิเศษแบบหนึ่ง เพราะในหลาย ๆ ส่วนของโลก ยังคงมีผู้คนอีกหลายล้านคนที่ต้อง login เข้า Facebook ถึงจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น แต่สำหรับพวกเราที่สามารถพิจารณาสื่อทางเลือกอื่น (alternatives) นอกเหนือจากการต่อสู้ที่อาจจะพ่ายแพ้เพื่อทำให้ Facebook เปลี่ยน[นโยบายธุรกิจ] แต่ท้ายที่สุดแล้ว การที่เราจะใช้ Facebook หรือไม่นั้น เป็นสิ่งหนึ่งที่ Zuckerberg ไม่สามารถควบคุมได้
ในบทความถัดไปของซีรี่ย์นี้ เราจะพูดถึงวิธีที่ดีกว่าการใช้ Facebook และทางเลือกอื่นถ้าไม่ใช่ Facebook (และแพลตฟอร์มสื่อโซเชียลอื่น ๆ ที่มักมีปัญหา) อ่านบทความที่ 2 เกี่ยวกับ Fediverse ได้ที่นี่
เกี่ยวกับผู้เขียน
Red Tani ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง Advocacy and Communications Director ขององค์กร EngageMedia Red เน้นทำงานรณรงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านการเล่าเรื่องด้วยวิดีโอ เครื่องมือออนไลน์ เทคโนโลยีที่ทั้งฟรี ปลอดภัย และตั้งอยู่บนหลักจริยธรรม