This post is also available in: อังกฤษ
สืบเนื่องจากความสำเร็จของคอลเลกชันภาพยนตร์ในโปรเจค “Tech Tales: ภาพยนตร์เกี่ยวกับสิทธิดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก” ในปี 2564
โปรเจค Tech Tales Youth มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนผู้สร้างภาพยนตร์รุ่นใหม่และนักเล่าเรื่องด้วยภาพ ในประเทศฟิลิปปินส์และไทย ในการผลิตภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล โครงการนี้มุ่งเน้นที่จะขยายความรู้ความเข้าใจของผู้สร้างภาพยนตร์รุ่นใหม่ว่าสิทธิมนุษยชนและสิทธิดิจิทัลเชื่อมโยงกันอย่างไร และภาพยนตร์จะสามารถเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างไรบ้าง
โครงการ Tech Tales Youth จะเน้นการให้คำปรึกษา และการสนับสนุนจากกลุ่มเครือข่าย ผ่านการประชุมที่จัดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้าง Impact ผ่านภาพยนต์ และผ่านการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ด้านสิทธิดิจิทัล และจำนวนนักกิจกรรมสิทธิดิจิทัล ในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ โดยมุ่งเน้นที่จะเชื่อมโยงผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีชื่อเสียงกับผู้สร้างภาพยนตร์รุ่นใหม่
ผลผลิตคอลเลกชันภาพยนตร์ที่จะเกิดขึ้นในโครงการนี้ จะช่วยขับเคลื่อนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล โดยการนำคนทำหนังรุ่นใหม่ พันธมิตร และผู้ชมใหม่ ๆ มาผนึกกำลังเพื่อขยายเครือข่าย ทำให้มีภาพยนตร์เกี่ยวกับสิทธิดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการผลักดันการเคลื่อนไหวในประเด็นนี้อีกด้วย
เกี่ยวกับโปรเจค: Tech Tales Youth
- Tech Tales Youth เป็นโครงการที่จะจัดทำภาพยนตร์สั้นจำนวน 8 เรื่อง (แต่ละเรื่องมีความยาวรวมประมาณ 5 นาที) ภายใต้หมวดหมู่สารคดี บันเทิงคดี แอนิเมชัน หรือแบบผสม (hybrid) โดยจะผลิตโดยผู้สร้างภาพยนตร์อายุ 18 ถึง 30 ปีจากประเทศฟิลิปปินส์และไทย
- ทางโครงการจะมอบทุนสนับสนุนมากสุดถึง 3,000 เหรียญสหรัฐ ให้กับเยาวชนผู้สร้างภาพยนตร์ชาวไทย 4 คนและฟิลิปปินส์ 4 คน ซึ่งทุนนี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการผลิตภาพยนตร์ รวมถึงค่าเดินทางเพื่อเข้าร่วมงาน DRAPAC23 Assembly ในวันที่ 22 ถึง 26 พฤษภาคม 2566 ที่เชียงใหม่ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการฉายรอบปฐมทัศน์ของภาพยนต์ชุดนี้ที่ประเทศฟิลิปปินส์และไทย
*ทางผู้จัดจะแจ้งรายละเอียดการแจกแจงค่าใช้จ่ายให้กับผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก - โครงการนี้มีเป้าหมายในการเปิดโอกาสในการสร้างแนวคิดและเรื่องราวใหม่ ๆ และสนับสนุนการอภิปรายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิดิจิทัล จากมุมมองของผู้สร้างภาพยนตร์รุ่นใหม่จากทั้งสองประเทศ
- ชมคอลเล็คชั่นภาพยนตร์จากโครงการ Tech Tales รุ่นแรกในปี 2564 ได้ที่นี่
FAQs
เงื่อนไขการสมัคร
- คุณมีสิทธิ์ได้รับทุนสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์หาก:
- เป็นเยาวชนฟิลิปปินส์ที่อยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ หรือเยาวชนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
- มีอายุ 18 ถึง 30 ปี ณ เวลาที่สมัคร
- สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ (หรือมีองค์กรพาร์ทเนอร์/อาจารย์/เมนเทอร์ ที่จะสามารถช่วยในการประสานงานและช่วยเหลือในการแปลภาษาได้)
- เงื่อนไขด้านเวลา: ผู้สร้างภาพยนตร์เยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องสามารถดำเนินการโครงการภาพยนตร์ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2565 และมีหน้าที่ในการรวบรวมทีมเพื่อให้ภาพยนต์เสร็จในเวลาที่กำหนด
- เงื่อนไขด้านการเดินทาง: ผู้สร้างภาพยนตร์เยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องเข้าร่วมการประชุม DRAPAC23 Assembly ในวันที่ 22 ถึง 26 พฤษภาคม 2023 ที่เชียงใหม่ เพื่อเข้ารับการให้คำปรึกษา ทุนภาพยนตร์ส่วนหนึ่งจะจัดสรรเป็นค่าเดินทางสำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมนี้
- เงื่อนไขด้านประสบการณ์: ผู้สมัครควรมีประสบการณ์ในการผลิตภาพยนต์มาก่อน และควรเป็นภาพยนต์ที่มีคุณภาพการผลิตสูงและมีความสร้างสรรค์ อีกทั้งควรสอดคล้องกับประเด็นด้านปัญหาสังคมและสิทธิมนุษยชน
ขั้นตอนการสมัคร
- กรอกใบสมัครสั้นๆ ภายในวันพุธที่ 12 เมษายน 2565 เวลา 23:59 น. โดยจะต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
- ข้อมูลส่วนบุคคล
- ประวัติย่อและลิงค์ Portfolio ผลงานที่ผ่านมา
- รายชื่อผู้อ้างอิงอย่างน้อย 4 ชื่อ (ใส่แค่ชื่อและรายละเอียดการติดต่อเท่านั้น)
- ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสิทธิดิจิทัล และขั้นตอนโปรดัคชั่นเกี่ยวกับโปรเจค Tech Tales Youth
โครงการจะจัดการฉายรอบปฐมทัศน์ของภาพยนต์ภายใต้โครงการ Tech Tales Youth เมื่อใด
- ภาพยนต์ภายใต้โครงการ Tech Tales Youth มีกำหนดฉายรอบปฐมทัศน์ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ถึงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ที่กรุงมะนิลาและกรุงเทพฯ การฉายภาพยนต์นอกเหนือจากนี้จะจัดขึ้นในพื้นที่นอกเมืองหลวงของแต่ละประเทศ
บทบาทขององค์กรเอ็นเกจ มีเดีย
- องค์กรเอ็นเกจ มีเดียจะเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แต่เพียงผู้เดียว และจะให้คำปรึกษาและให้การสนับสนุนโครงการและผู้สร้างภาพยนตร์
- ในฐานะผู้อำนวยการสร้างองค์กรเอ็นเกจ มีเดีย จะอำนวยความสะดวกในการจัดพื้นที่สร้างสรรค์ที่เอื้อให้ผู้สร้างภาพยนตร์ในการทำงาน นอกจากนี้ ทางองค์กรเอ็นเกจ มีเดียจะสนับสนุนกระบวนการมาสเตอร์ (Studio Mastering) ของภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่อง เพื่อให้ผลงานภาพยนตร์ผลิตออกมาตามมาตรฐานการออกอากาศ
- ในฐานะผู้ให้คำปรึกษาของโครงการ องค์กรเอ็นเกจ มีเดียจะจัดการเสวนาเกี่ยวกับสิทธิทางดิจิทัลเพื่อให้ผู้สร้างภาพยนตร์มีความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ นอกจากนี้ จะจัด Storytelling and Impact Production Lab และให้คำแนะนำตลอดโครงการกิจกรรมการให้คำปรึกษาครั้งแรกจะจัดขึ้นในระหว่างการประชุมนานาชาติ DRAPAC23 Assembly ที่เชียงใหม่ ซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์จะมีโอกาสกำหนดทิศทางและโฟกัสของโครงการภาพยนตร์ของตนผ่านการประสานงานกับที่ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรเอ็นเกจ มีเดีย และ Tech Tales Youth
- องค์กรเอ็นเกจ มีเดียจะเป็นผู้ดำเนินการหลักในการโปรโมตและโฆษณาสำหรับภาพยนตร์ภายใต้โครงการนี้ผ่านแคมเปญต่าง ๆ รวมไปถึงประสานงานด้านการแปลและคำบรรยายของภาพยนตร์เป็นภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อขยายการเข้าถึงภาพยนต์และอิมแพค
ข้อกำหนดด้านการเผยแพร่และกรรมสิทธิ์สำหรับภาพยนตร์ที่ผลิตภายใต้โครงการ Tech Tales Youth
- ภาพยนต์ที่ผลิตภายใต้โครงการนี้จะถูกเผยแพร่ภายใต้ใบอนุญาตแบบเปิดภายใต้สัญญา Creative Commons 4.0 Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) ซึ่งมีเงื่อนไขใบอนุญาตว่าสามารถให้นำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย โดยต้องระบุที่มา ห้ามทำไปให้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลงผลงานในฐานะที่ภาพยนต์เหล่านี้เป็นสื่อที่สนับสนุนประเด็นทางสังคม การให้สิทธิ์ใช้งานประเภทนี้จะทำให้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ไปยังภาคส่วนต่าง ๆ ที่จะได้รับประโยชน์จากการรับชมผลงานภาพยนตร์
- ในฐานะผู้อำนวยการสร้างของภาพยนต์ภายใต้โครงการ Tech Tales Youth องค์กรเอ็นเกจ มีเดีย จะเป็นผู้เผยแพร่แต่เพียงผู้เดียว ในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากเริ่มเผยแพร่ผลงาน โดยผู้สร้างภาพยนต์จะสามารถทำข้อตกลงเป็นเจ้าของร่วมกับองค์กรเอ็นเกจ มีเดียได้หลังจากระยะเวลานี้
เมื่อส่งใบสมัครแล้วจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
- ทีมงานโครงการสิทธิดิจิทัลและวิดีโอขององค์กรเอ็นเกจ มีเดียจะคัดกรองใบสมัคร ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้:
- สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเมษายน:
- การประเมินผลงานและตอบแบบสอบถาม
- การตรวจสอบผู้อ้างอิง (Reference)
- สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน:
- สัมภาษณ์ (ออนไลน์) โดยทีมงานโครงการสิทธิดิจิทัลและวิดีโอขององค์กรเอ็นเกจ
- สัปดาห์ที่ 4 ของเดือนเมษายน:
- ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนสนับสนุน 8 ราย
- สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเมษายน: